ข้อมูลเว็บ
1.จากตัวอย่างเรื่อง "กระเพาะปลา"
1.1 กระเพาะปลาที่เราทานอยู่ในท้องตลาดนั้น
จริงๆแล้วทำมาจากส่วนไหนของกระเพาะปลา หรือทำมาจากกระเพาะปลาจริงๆ
1.2 กว่าจะมาเป็นกระเพาะปลา ที่ราคาแพงที่สุดนั้น ผ่านกระบวณการอะไรมาบ้าง
1.3 กระเพาะปลานั้น สามารถเอามาจากปลาทั่วไป หรือจำกัดประเภทของปลา เพื่อที่จะมาทำกระเพาะปลา
1.4 ทำไมกระเพาะปลา ถึงมีราคาแพง หรือมีการเก็บสะสม เพื่อเกร็งราคาด้วย
2.เมนู แกงป่าปูนา
2.1ปูนากับจากปูทั่วไป
ปูนาสามารถพบได้ตามทุ่งนา
และบริเวณที่ลุ่มที่มีน้ำขังหรือเป็นที่ชุ่มน้ำทั่วไป ลักษณะทั่วไปจะกระดองโค้งนูน ผิวเรียบมัน ทั้งส่วนกระดอง ก้าม
และขาส่วนใหญ่มีสีม่วงดำ และสีเหลือง โดยชอบขุดรูอาศัยตามแปลงนา ที่สามารถสังเกตเห็นเป็นรูลักษณะกลมรีตามขนาดลำตัว
ปูนา (Rice field Crab) เป็นปูน้ำจืดที่พบแพร่พันธุ์มากในช่วงฤดูทำนา
เป็นปูที่นิยมนำมาประกอบอาหารอย่างมากในฤดูทำนา อาทิ แกงอ่อมปูนา ลาบปูนา ปูนาทอด
ปูนาปิ้ง เป็นต้น รวมถึง นิยมนำมาแปรรูปเป็นอาหารอื่น เช่น ปูดองสำหรับใส่ส้มตำ
หรือเคี่ยวทำมันปูสำหรับใช้ปรุงอาหาร เป็นต้น
ปูนา
สามารถพบได้ตามทุ่งนา และบริเวณที่ลุ่มที่มีน้ำขังหรือเป็นที่ชุ่มน้ำทั่วไป ลักษณะทั่วไปจะกระดองโค้งนูน
ผิวเรียบมัน ทั้งส่วนกระดอง ก้าม และขาส่วนใหญ่มีสีม่วงดำ และสีเหลือง
โดยชอบขุดรูอาศัยตามแปลงนา คันนา คันคู และคันคลอง
ที่สามารถสังเกตเห็นเป็นรูลักษณะกลมรีตามขนาดลำตัว
ปูน้ำจืด
(freshwater
crab) มีทั้งหมด 4 กลุ่ม
ประกอบด้วย ปูลำห้วย (creek crab) ปูน้ำตก (waterfall
crab หรือ stream crab) และปูป่า
(land crab) และปูนา (Rice field Crab)
ปูนา
มีชื่อวิทยาศาสตร์ Sayamia
(Esanthelphusa) dugasti และชื่อสามัญ : Rice-field
Crab
การเพาะเลี้ยงปูนาสามารถเพาะเลี้ยงได้ในโรงเรือนที่มนุษย์สร้างขึ้น
เช่น บ่อก่ออิฐซีเมนต์ บ่อซีเมนต์ทรงกลม หรือบ่อดินขนาดเล็ก โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูฝนที่ธรรมชาติของปูนาจะผสมพันธุ์
และออกไข่
1. พ่อ-แม่พันธุ์
พ่อ-แม่พันธุ์ ในระยะแรกต้องรวบรวมจากธรรมชาติ
โดยนำพ่อ-แม่พันธุ์มาผสมพันธุ์กันหรือจะใช้แม่ปูที่มีไข่หรือมีลูกปูวัยอ่อน ที่ติดกระดองอยู่แล้วมาอนุบาลก็จะประหยัดเวลา
และต้นทุนในการผลิตได้มาก
2. ฤดูผสมพันธุ์วางไข่
ปูนาจะผสมพันธุ์ และวางไข่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม
ที่เป็นช่วงต้นฤดูฝน และมีน้ำขังในแปลงนาหรือแอ่งน้ำ และอาจเป็นน้ำที่มาจากการชลประทานก็ได้ซึ่งไม่ใช่น้ำฝน
แต่ช่วงการผสมพันธุ์ และวางไข่จะอยู่ในช่วงต้นฤดูฝนของทุกปี
ปูนาตัวที่เข้าสู่วัยผสม พันธุ์ หากมีน้ำฝนใหม่หรือน้ำชลประทานในต้นฤดูฝน
และมีแหล่งน้ำขังในแปลงนาหรือในแอ่งน้ำ ปูนาเพศผู้ และเพศเมียจะเดินเข้าหาแอ่งน้ำเพื่อผสมพันธุ์
และวางไข่ ซึ่งอาจไม่ขุดรูใหม่ เพียงอาศัยตามกอหญ้าเพื่อการผสมพันธุ์เท่านั้น เมื่อผสมพันธุ์
และวางไข่เสร็จอาจมีการออกหาแหล่งอาศัยใหม่ แต่หากแหล่งอาศัยเดิมมีอาหารที่เพียงพอก็มักอยู่อาศัยในแหล่งเดิม
2.2
ปูนาที่นำมาทำอาหารหาได้ตามธรรมชาติหรือมีฟาร์มเพาะพันธ์
โดยปกติสามารถพบได้ตามทุ่งนา
แต่ในปัจจุบันมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นจึงเกิดการเปิดฟาร์มเลี้ยงปูนาขาย
สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากการขยายพันธ์ที่ไวและเยอะ
2.3 ปูที่นำมาบริโภคมีพยาธิหรือไม่ ในปูนนั้นไม่พบพายาธิ
ที่พบเจอในข่าวเป็นเพียงแค่ปลิงเข็ม สามารถรับประทานได้ปกติ
แต่ต้องน้ำมาปรุงสุกก่อนนำไปรับประทาน
บรรณานุกรรม
กัมพล ไทยโสม.
ปูนาและการเลี้ยงปูนา. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : http://pasusat.com/%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%B2.
(วันที่สืบค้น : 20 ตุลาคม 2560).
เข้าถึงได้จาก : http://pasusat.com/%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%B2.
(วันที่สืบค้น : 20 ตุลาคม 2560).
DenverThaiTV. รายการถึงพริกถึงขิง
ปูนา 02 08 2017. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : https://www.youtube.com/watch?v=kGUhaON5VvE.
(วันที่สืบค้น : 20 ตุลาคม 2560).
เข้าถึงได้จาก : https://www.youtube.com/watch?v=kGUhaON5VvE.
(วันที่สืบค้น : 20 ตุลาคม 2560).
อ.เจษฏา. ปลิงในปูนา. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : https://hilight.kapook.com/view/109269.
(วันที่สืบค้น : 20 ตุลาคม 2560).
เข้าถึงได้จาก : https://hilight.kapook.com/view/109269.
(วันที่สืบค้น : 20 ตุลาคม 2560).
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 4.0 International License.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น